ชื่ออื่น ๆ : กระทือป่า แฮวดำ กะแวน (ภาคเหนือ) เฮียงแดง (แม่อ่องสอน)
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber zerumbet Rose. Smith.
วงศ์ : ZINGIBERACEAE
ลักษณะทั่วไป
· ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นประเภทเดียวกับไพล หรือขิง ลำต้นเป็นหัวอยู่ในดินมีสีขาวอมเหลือง
· ใบ : ใบจะออกซ้อนกันเป็นแผง ลักษณะของใบเรียวยาว ใบมีสีเขียวแก่
· ดอก : ดอกออกเป็นช่อ โผล่พ้นขึ้นมาจากหัวใต้ดิน ช่อก้านดอกยาว และเป็นปุ้มส่วนปลายมีกลีบเลี้ยงมีสีเขียวปนแดงซ้อนกันอยู่แน่น กลีบดอกมีสีขาวนวล มีลักษณะเป็นหลอด ส่วนปลายกลีบอ้าออก กลีบเลี้ยงจะอุ้มน้ำไว้ได้
การขยายพันธุ์ :
· เป็นพรรณไม้ที่มีการขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ เจริญเติบโตได้ดีในดินอุดมร่วนซุย
ส่วนที่ใช้ :
· ลำต้น ดอก ใบ เหง้า
สรรพคุณ :
· ลำต้น เป็นยาแก้เบื่ออาหาร ดอก ยาแก้ไข้เรื้อรัง ผอมแห้ง นำมาต้ม เอามาดื่ม ใบ เป็นยาใช้ขับเลือดเน่าในเรือนไฟ วิธีใช้ด้วยการนำมาต้ม เอามาดื่มกิน เหง้า เป็นยาขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด ปวดท้อง บำรุงท้อง ขับปัสสาวะ เสมหะเป็นพิษ และบำรุงน้ำนม วิธีใช้ นำหัวหรือเหง้าต้มสด ประมาณ 2 หัว (20 กรัม)
ปิ้งไฟแล้วนำมาฝนผสมกับน้ำปูนใสประมาณ แก้วแล้วใช้น้ำดื่ม
อื่น ๆ :
· หัว หรือเหง้าอ่อน ๆ นอกจากจะใช้เป็นสมุนไพรแล้วยังสามารถนำมาใช้ปรุงอาหารได้อีก
หมายเหตุ :
· “กระทือ (ไทย) ; กะแอน ระแอน แฮวดำ เฮียวดำ (พายัพ)” in Suan, Plant Name, 1948,p.502.,Zinghiber zerumbet Burkill, II, 1935,p. 2303 “Lampuyang; in Java, Kampuyang, Lampuyang, gajah; in Siam, Katu” Zingiber zerumber McFarland, Thai-Eng. Dict 1941,p.35 “กระทือ กะทือ” p.82 “กะแอน กะทือ (ต้น).
อ้างอิง : วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม.พจนานุกรมสมุนไพรไทย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพ ฯ : รวมสาสน์ (1977), 2548.